Tourism Authority of Thailand Songkran greetings 2020
On behalf of all of us at the Tourism Authority of Thailand (TAT), we would like to extend our best wishes to the Thai people and everyone around the Kingdom of Thailand, as they celebrate Songkran and welcome in the Thai New Year on 13 April, 2020.
Traditionally most people who work outside their hometown usually travel home to make merit at temples and to politely pour water on the hands of their elders, asking for blessings of prosperity and a healthy life. This has added significance during 2020, as we take care to ensure everyone remains healthy during the ongoing COVID-19 outbreak.
Because of social distancing, we understand that many traditions are on hold this year while the Songkran spirit remains strong in everyone’s heart.
TAT would like to remind all of you to stay safe this holiday season, prepare for the time when travel and tourism returns, and we can all celebrate Songkran in style with our beloved family and friends.
Happy Songkran!
Best wishes,
Mr. Yuthasak Supasorn
Governor
Tourism Authority of Thailand
12 April, 2020, at 13.00 Hrs.
Wat Chedi Luang Temple History
King Saen Muang Ma (r.1385-1401) began construction on Wat Chedi Luang in1391 to hold the ashes of his father, Ku Na. The building was expanded by later kings, reaching its final form in 1475.
It was then given the great honor of housing the Emerald Buddha, the holiest religious object in Thailand (now kept in Wat Phra Kaew, Bangkok). At this time, Wat Chedi Luang rose to a height of 84m (280 ft.).
A century later, a severe earthquake (1545) toppled part of the great spire. The Emerald Buddha was kept in the chedi for another six years, then moved to Luang Prabang (in present-day Laos) by the king.
Five years later, Chiang Mai fell to the Burmese. The temple was never rebuilt, but even at its post-earthquake height (60m) it remained the tallest structure in Chiang Mai until modern times.
Several viharns were added to the temple complex in subsequent years; the largest viharn was built in 1928.
What to See
The ruined brick chedi of Wat Chedi Luang now rises to about 60m in height. Its base is 44m (144 ft.) wide. It has four sides, each with a niche approached by a monumental stairway guarded by stone nagas (mythical snakes). Elephants stand guard midway up the platform.
Despite its ruined state, the chedi still has several Buddha shrines and remains an active place of worship frequented by saffron-robed monks.
The large viharn (assembly hall) next to the ruined chedi was built in 1928. Its impressive interior, with round columns supporting a high red ceiling, contains astanding Buddha known as the Phra Chao Attarot. Made of brass alloy and mortar, the Buddha dates from the time of the temple's founder, King Saen Muang Ma (late 14th century).
Next to the entrance is a great Dipterocarp tree, one of three revered as protectors of the city. Legend has it that if this tree falls, a great catastrophe will follow.
Also protecting Chiang Mai is the city pillar or "Spirit of the City" (Lak Mueang), which is enshrined in a small cross-shaped building next to the tree. The pillar was moved here from its original position at Wat Sadoe Muang in 1800.
เปิดตำนาน 600 ปี พระเจดีย์หลวง ณ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวง มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร , วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ.1934 ถ้านับจนถึงปัจจุบันมีอายุ 626 ปี วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ
ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แปลโดย ศาสตราจารย์แสง มนวิฑูร พิมพ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 กล่าวถึงเจดีย์หลวงว่า “จุลศักราช 289 (พ.ศ.1874) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน” มหาวิหารที่ว่านี้คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน ปัจจุบันยังปรากฏองค์พระธาตุให้เห็นอยู่
สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็ทรงสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ “พระธาตุเจดีย์หลวงเมื่อสร้างเสร็จ (พระเจ้าติโลกราชสร้างเสริมให้สูงใหญ่ขึ้น) เรียบร้อยแล้ว มีระเบียบกระพุ่มยอดเป็นอันเดียว ฐานกว้างด้านละ 52 ศอก สูง 92 ศอก ก่อด้วยศิลาแลงทั้งสี่ด้าน”
พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 11 โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต ไปจำลองแบบมหาเจดีย์จากเมืองลังกามาสร้างเป็นเจดีย์สูง 43 วา ฐานกว้าง 27 วา เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต (องค์เดียวกับที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ) มาจากเมืองลำปาง โปรดให้สร้างซุ้มประดิษฐานไว้ที่ข้างองค์พระเจดีย์ด้านทิศตะวันออก ในสมัยหลังพระแก้วมรกตถูกอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองล้านช้าง ประเทศลาว กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานคร
ตำนานเมืองเหนือกล่าวถึงการสร้างวัดเจดีย์หลวงในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนาว่า “ส่วนเจ้ากือนาตนพ่อ เมื่อละวางอารมณ์ไปแล้ว ก็ได้เป็นอสุรกายรุกขเทวดารักษาต้นไม้นิโครธต้นหนึ่ง อยู่ริมทางเดินที่จะเดินเข้าไปเวียง ขณะนั้นมีพ่อค้าหมู่หนึ่งไปเมืองพุกามมา ก็มาถึงต้นนิโครธต้นนั้นและพักอยู่ เมื่อนั้นรุกขเทวดาก็แสดงบอกแก่พ่อค้าทั้งหลายว่า กูนั้นเป็นพญากือนา กินเมืองเชียงใหม่ที่นี่แล ก็ครบด้วยสหาย มีศิลปอาคมเป็นหมอช้าง ครั้นกูตายก็ได้มาเป็นอสุรกายรุกขเทวดา อยู่รักษาต้นไม้นี้แล กูจะไปเกิดในสวรรค์เทวดาโลกไม่ได้ ให้สูไปบอกแก่ลูกกูเจ้าแสนเมืองมา ให้สร้างพระเจดีย์หลังหนึ่งที่ท่ามกลางเวียง สูงพอคนอยู่ไกลสองปันวาแลเห็นนั่นเถิด จึงให้ทานกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่กู กูจักได้พ้นอันเป็นรุกขเทวดาที่นี่ แล้วจักได้ไปเกิดในสวรรค์”
เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมาทราบความ จึงโปรดให้แผ้วถางที่ แล้วก่อพระเจดีย์สวมทับไว้ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระเจ้าแสนเมืองก็สวรรคตเสียก่อน ต่อมาจึงได้มีผู้สร้างเจดีย์เพิ่มเติมขึ้นภายหลัง ปี พ.ศ.2055 พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม
ต่อมาในสมัยพระมหาเทวีจิระประภา ประมาณ พ.ศ.2088 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ.2423 พระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง
ช่วงปี พ.ศ.2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา
นอกจากนั้นในวัดเจดีย์หลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานของเสาอินทขิล ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่มาช้านาน ซึ่งมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยก่อนบริเวณที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่เป็นที่ตั้งเมืองของพวกลัวะ ซึ่งมักจะถูกผีร้ายรบกวนต่าง ๆ นานาจนเป็นที่เดือดร้อนทั่วทั้งเมือง พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อนของพลเมือง ก็คิดจะช่วยเหลือโดยได้บอกให้ชาวเมืองถือศีลรักษาคำสัตย์ บ้านเมืองจึงรอดพ้นจากอันตราย ชาวเมืองก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม เมื่อพระอินทร์เห็นว่าชาวเมืองมีสัตย์ดีแล้วจึงบันดาลให้บ่อเงินบ่อทองและบ่อแก้วขึ้นภายในเมืองและให้ชาวเมืองอธิษฐานเอาตามความปรารถนา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “เมืองนพบุรี”
อาณาจักรลัวะหรือละว้าโบราณที่มาของตำนานเสาอินทขิลนี้นั้น มีศูนย์กลางการปกครองหรือราชธานีอยู่ที่ เวียงเชษฐบุรี หรือ เวียงเจ็ดริน (อยู่เชิงดอยสุเทพด้านทิศตะวันออก สถานที่เลี้ยงโคนมกรมปศุสัตว์และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปัจจุบัน) และเวียงนพบุรีในเวลาต่อมา แล้วก็ล่มสลายในสมัยขุนหลวงวิรังคะ ราชันย์แห่งขุนเขาผู้ยิ่งยงเมื่อต้องพ่ายแพ้ พระนางจามเทวี แห่งอาณาจักรหริภุญไชยในการทำสงครามเมื่อ พ.ศ.1211 (พ.ศ.1204 วาสุเทพฤาษีสร้างเมืองหริภุญไชย, พ.ศ.1206 พระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญไชย, พ.ศ.1211 เกิดสงครามกับขุนหลวงวิรังคะ, พ.ศ.1213 พระนางจามเทวีสละราชสมบัติ)
อาณาจักรลัวะโบราณรุ่งเรืองมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ตำนานกล่าวไว้ว่า บ้านเมืองของลัวะมีขุมทรัพย์คือ บ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว อยู่ตามทิศต่าง ๆ ผู้คนตั้งสัจจาธิษฐานเอาได้ตามปรารถนา และมีผู้คนพลเมืองมาก มีเมืองสำคัญๆหลายแห่ง เช่น เวียงสวนดอก ทางทิศใต้เวียงเชษฐบุรีและเวียงนพบุรี (เมืองใหม่/เมืองทั้ง 9 ตามชื่อเศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ยาว 1,000 วา กว้าง 900 วา อยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชษฐบุรี เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรลัวะแห่งสุดท้าย ก่อนล่มสลายในสมัยขุนหลวงวิรังคะดัวกล่าวแล้ว
เศรษฐีลัวะ 9 ตระกูลที่ทำการปกครองอาณาจักรลัวะครั้งโบราณก็มี ..โชติกเศรษฐี เมณฑกะเศรษฐี ภัททิยะเศรษฐี ชติละเศรษฐี เศรษฐีพ่อเรือน เศรษฐีปอเลิงหรือพ่อเลี้ยง เศรษฐีหมื่นล้าน เศรษฐีพันเตา พญาวีวอ..เศรษฐีทั้ง 9 ตระกูลนี้แบ่งหน้าที่ปกครองอาณาจักรตามเขตหรือภูมิภาคต่าง ๆ และ 3 ตระกูลร่วมกันบริหารคุ้มครองบ่อเงิน 3 ตระกูลบริหารคุ้มครองบ่อทอง 3 ตระกูลบริหารคุ้มครองบ่อแก้ว
แรกเริ่มนั้น ชาวลัวะเป็นชาวป่ากึ่งอารยชนยังไม่มีศาสนา การสร้างบ้านแปงเมือง การปกครองอาณาจักรต้องอาศัยหมอผี และพระดาบสฤาษีที่ถือศีลบำเพ็ญพรตอยู่ตามป่าเขาเป็นวิศกร เป็นสถาปนิกที่ปรึกษา เป็นที่กราบไหว้บูชาและเป็นสื่อกลางติดต่อกับผีสางเทวดา ที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะของปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ที่ลึกลับน่าสะพรึงกลัวที่ให้ทั้งคุณและโทษ ที่พวกเขาเกรงกลัว ต้องเซ่นไหว้ทำพลีกรรม
การสร้างเวียงนพบุรีของลัวะ ที่มีพระฤาษีเป็นที่ปรึกษากำหนดขอบเขตและแบบแปลนแผนผังของเมืองให้ รวมทั้งเป็นสื่อติดต่อขอเสาหลักเมืองที่ทำด้วยศิลาแท่งทึบจากพระอินทร์มาให้นั้น เสาหลักเมืองจึงได้ชื่อว่า เสาอินทขิล ตั้งแต่นั้นมา (พระอินทร์/เทวดา อาจหมายถึงกษัตริย์เมืองอื่นที่มีอำนาจเหนือชาวลัวะก็ได้ คำว่า “อินทขิล” หมายถึงเสาเขื่อนหรือเสาประตูเมือง เวียงป่าซางก็มีเสาอินทขิล แม่แตงก็มีตำบลอินทขิล คงมิได้หมายความว่าตำบลที่พระอินทร์มอบให้) แม้เสาหลักเมืองนพบุรีศรีเชียงใหม่ ที่ชนชาติไทยสร้างขึ้นภายหลังในถิ่นที่แผ่นดินเก่าของลัวะ ก็ให้ชื่อว่า เสาอินทขิลถือเป็นมงคลนามตามนั้นด้วย เสาอินทขิลมีอยู่ด้วยกัน 3 ต้นคือ
ต้นที่ 1 นั้นเมื่อตั้งอยู่ในบ้านเมืองใด ถ้าพระยาอามาตย์พร้อมใจกันกราบไหว้บูชา จะอยู่เจริญผาสุก แม้ข้าศึกศัตรูมารุกรานก็แตกพ่ายหนีไปและล้มตายหมดสิ้น
ต้นที่ 2 ต้นท่ามกลาง เมื่อตั้งอยู่ที่ในบ้านเมืองใด ถ้าพร้อมใจกันทำการกราบไหว้บูชา ก็จะเจริญผาสุก มั่งมีด้วยทรัพย์สินสมบัติ มีเดชานุภาพ แม้ข้าศึกศัตรูมารุกรานก็จะพ่ายแตกไปโดยไม่ต้องออกรบ
ต้นที่ 3 ตั้งอยู่บ้านเมืองใด เมื่อพร้อมใจกันทำการกราบไหว้บูชาแล้ว ข้าศึกศัตรูไม่อาจเข้ามารุกรานผ่านเขตแดนได้
พระอินทร์ได้ประทานเสาอินทขิลต้นที่ 2 ให้เวียงนพบุรี โดยให้กุมภัณฑ์ 2 ตนเอาเสาอินทขิลใส่สาแหรกหามนำมาประดิษฐานไว้เหนือแท่นกลางเมืองนพบุรี ที่ข้างล่างแท่นเป็นหลุมกว้าง 7 วา 1 ศอก ลึก 2 วา ตบแต่งผนังเลื่อมมันมั่นคงแข็งแรงดีแล้ว เอารูปสัตว์ต่าง ๆ บรรดามีในโลก ทั้งสัตว์น้ำสัตว์บก อย่างละคู่ (ผู้ตัวเมียตัว) ที่หล่อด้วยทองบรรจุไว้ในวัดเจดีย์หลวงในปัจจุบัน มีรูปปั้นกุมภัณฑ์อยู่สองศาลสองตน รูปพระฤาษีหนึ่งตน ถือเป็นของคู่กันกับเสาอินทขิล “เมื่อจุลศักราช 1162 ปีวอกโทศก (พ.ศ.2343) พระเจ้ากาวิละได้ก่อรูปกุมภัณฑ์ 1 คู่ รูปฤาษี 1 ตน ไว้ ณ วัดเจดีย์หลวง กลางเมืองฯ”
เมื่อครั้งพระเจ้ามังรายทรงเตรียมจะสร้างเมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ.1835 ณ บริเวณป่าละเมาะพงหญ้าคาพื้นที่ตั้งเมืองเชียงใหม่เก่าขณะนี้ “ก็ได้พบซากเมืองเก่าลักษณะสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ในขณะที่พญามังรายให้เสนาข้าราชบริพารแผ้วถางทรากเวียงเก่านั้น ได้พบโบราณวัตถุคือรูปกุมภัณฑ์ก่ออิฐถือปูน สืบมาจากชนชาวลัวะ เสนาบางพวกจะทำลายบางพวกห้ามไว้แล้วนำเรื่องขึ้นกราบทูลพญามังราย พญามังรายจึงมีบัญชาให้แต่งเครื่องบรรณาการใช้ให้เสนาชื่อ สรีกรชัย ผู้พูดภาษาลัวะได้ไปหาพญาลัวะบนดอยอุฉุจบรรพต พญาลัวะแนะนำว่า เวียงนี้หากจะให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ก็ให้บูชากุมภัณฑ์และเสาอินทขิล”
เมื่อชาวเมืองทำการกราบไหว้บูชาเสาอินทขิลมิได้ขาดและทำการเว่นไหว้พลีกรรมกุมภัณฑ์เป็นประจำ พร้อมทั้งตั้งตนอยู่ในศีลห้า รักษาสัจจะตามที่พระฤาษีสั่งสอน บ้านเมืองก็วัฒนาผาสุกร่มเย็น ทำมาหากินค้าขึ้น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารให้ผลอุดมสมบูรณ์โรคร้ายภัยพิบัติต่างไม่เบียดเบียน ทำให้มั่งคั่งร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเวินทอง เปรียบเสมือนมีขุมทรัพย์ที่เนืองนองด้วย บ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว อยู่ทุกทิศทุกเขตของบ้านเมืองที่ใคร ๆ (มีปัญญา/ขยัน) เมื่อตั้งมั่นอยู่ในศีลสัตย์ ก็ตั้งสัจจาธิษฐานเอาได้ตามใจปรารถนา แม้ผู้คนจากบ้านอื่นเมืองไกล ที่มุ่งร้ายหมายมารุกรานย่ำยี เมื่อมาถึงเมืองนพบุรีแล้วก็จะสยบสวามิภักดิ์ แปรสภาพเป็นพ่อค้าวาณิชมุ่งทำมาค้าขายหาความร่ำรวยผาสุกรื่นรมย์ไปหมด
แต่เมื่อนานเข้า ผู้คนกลับไม่รักษาคำสัตย์ปฏิบัติตนเป็นคนทุศีล ไม่ทำการเซ่นไหว้ แต่ทำการอุกอาจย่ำยีดูหมิ่นและทิ้งของปฏิกูลบูดเน่าขี้เยี่ยวรดราดกุมภัณฑ์ กุมภัณฑ์จึงนำเสาอินทขิลกลับไปเสีย ต่อมามีผู้เฒ่าลัวะคนหนึ่งที่เคยมากราบไหว้เสาอินทขิลประจำ เมื่อไม่เห็นก็เกิดปริวิตกทุกข์ร้อน กลัวว่าจะเกิดเหตุเภทแก่บ้านเมือง ถึงกับร้องห่มร้องไห้เสียใจ จึงละเพศจากฆราวาส ถือเพศเป็นตาปะขาวรักษาศีลบำเพ็ญภาวนาอยู่ ณ บริเวณที่เคยตั้งเสาอินทขิล ใต้ต้นยางนั้นเป็นเวลานานถึง 3 ปี
ขณะนั้นมีพระเถระรูปหนึ่ง ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่าเขาจนบรรลุฌานสมาบัติ มีญาณหยั่งรู้ความเป็นไปในเหตุการณ์ข้างหน้า ได้มาบอกตาปะขาวว่า บ้านเมืองจะถูกข้าศึกศัตรูย่ำยีถึงกาลวิบัติล่มจม เพราะไม่มีเสาหลักเมืองให้ผู้คนได้ยึดเหนี่ยวกราบไหว้บูชา อันเป็นที่มาของความสมัครสมานสามัคคีของผู้คน ตาปะขาวจึงประชุมปรึกษาหารือกับชาวเมืองและตกลงกันว่า ขอให้พระเถระเป็นสื่อติดต่อของเสาอินทขิลจากพระอินทร์มาให้อีก
พระอินทร์สั่งให้กุมภัณฑ์นำเสาอินทขิลลงไปให้เมืองนพบุรีอีกครั้ง เมื่อทราบเหตุการณ์จากพระเถระแล้วแต่กุมภัณฑ์ไม่ยอมไป ด้วยเกลียดกลัวต่อพฤติกรรมต่ำหยาบของชาวเมือง พระอินทร์จึงขอให้พระเถระไปบอกชาวเมือง ให้สร้างเสาอินทขิลและปั้นรูปกุมภัณฑ์เทียมขึ้นใหม่ โดยหล่อกะทะขอบหนา 8 นิ้วกว้าง 8 ศอก ปั้นรูปสัตว์บกสัตว์น้ำบรรดามีในโลกอย่างละคู่และรูปมนุษย์ครบ 101 เจ็ดภาษา บรรจุไว้ในกะทะฝังไว้ท่ามกลางเมือง กลบดินปรับพื้นเสมอดีแล้วสร้างเสาหลักเมืองด้วยอิฐก่อสอปูนประดิษฐานไว้บนนั้น แล้วทำการกราบไหว้บูชามิให้ขาด ก็จะเกิดสวัสดิมงคลแก่บ้านเมืองและผู้คน พลเมืองจะอยู่ดีกินดี มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทอง ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ไม่มีโรคร้ายระบาดภัยเบียดเบียน (เสาอินทขิลที่พระเจ้ากาวิละย้ายจากวัดสะดือเมืองมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวงเมื่อ พ.ศ.2343 นี้คือ เสาที่พระเจ้ามังรายทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งสร้างเมืองเชียงใหม่ปี พ.ศ.1839 ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ผู้คนเชื่อว่า รูปแบบพิธีกรรมและอุดมการณ์เกี่ยวกับเสาอินทขิล ส่วนหนึ่งสืบสานมาจากอาณาจักรลัวะโบราณนี้เอง)
เสาอินทขิลมีฤทธิ์มาก ซึ่งด้วยอิทธิอำนาจของเสาอินทขิลนี้เองบันดาลให้พวกข้าศึกที่ยกกองทัพมาชิงเอาเมืองนพบุรีนั้นกลายร่างเป็นพ่อค้าไปหมด จากนั้นพระอินทร์ก็ให้ชาวลัวะหล่ออ่างขางขนาดใหญ่ หนา 8 นิ้ว กว้าง 8 ศอก ขุดหลุมลึก 8 ศอกแล้วให้ปั้นรูปสัตว์ทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้อย่างละคู่ ปั้นรูปคนทั้งหลายให้ครบร้อยเอ็ดเจ็ดภาษา ปั้นรูปช้าง 1 คู่ม้า 1 คู่แล้วเอารูปปั้นเหล่านั้นใส่ลงในกะทะเอาไปฝังไว้แล้วก่อเสาอินทขิลไว้เบื้องบนและให้ทำพิธีสักการะบูชาบ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติได้ ดังนั้นชาวเมืองก็ได้ถือปฏิบัติตามคำของพระอินทร์ทุกประการและได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะบูชาเสาอินทขิลและรูปกุมภัณฑ์ที่สร้างเทียมไว้แทนเสา บ้านเมืองก็รอดพ้นจากภัยพิบัติตามที่พระเถระเจ้าได้ทำนายไว้
เสาอินทขิลปัจจุบัน ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนา เป็นเสาอิฐก่อสอปูนติดกระจกสีรอบเสาวัดได้สูง 2.27.5 เมตร วัดรอบโคนเสาได้ 5.67 เมตร รอบปลายเสา 3.4 เมตร มีพระพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ที่พลตรีเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวง เมื่อปี 2514 ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกเหนือเสาอินทขิลให้ได้สักการบูชาคู่กับหลักเมืองด้วย พระเจ้ามังรายปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์มังราย ทรงสร้างเสาอินทขิลเมื่อครั้งสถาปนาราชธานี “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ปี พ.ศ.1839 แรกสร้างตั้งอยู่วัดสะดือเมือง พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 วงศ์ทิพจักร ให้ย้ายมาไว้ ณ วัดเจดีย์หลวงเมื่อ พ.ศ.2343
พระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2535 จนปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลางเมือง
เอกสารประกอบ
1.บุญเสริม สาตราภัย “ลานนาไทยในอดีต” ,2522
2.วัดเจดีย์หลวง พิมพ์ในโอกาสสมโภช 600 ปีพระธาตุเจดีย์หลวง,2538
จักรพงษ์ คำบุญเรือง
jakrapong@chiangmainews.co.th
รัฐบาลมีมติยกเลิกวันหยุดราชการสงกรานต์ 13-15 เมษายน ลดการเคลื่อนย้ายของประชาชน เสี่ยงเจอโควิด-19 โดยให้หยุดชดเชยภายหลัง หลังก่อนหน้านี้ ครม. ให้หยุดยาว 5 วัน 11-15 เม.ย.) ทั้งภาครัฐและเอกชน
ล่าสุดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ออกประกาศเรื่อง ให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี2563 ดังนี้
ด้วยในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าโดยที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)ได้เสนอให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (วันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ๒๕๖๓)ออกไปก่อน เพื่อลดการเดินทาง เคลื่อนย้าย และรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อันจะเป็นการช่วยป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในประเทศได้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ ดังนี้
๑. ให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (วันที่ ๑๓ -๑๕ เมษายน ๒๕อต) ออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะคลี่คลายโดยคณะรัฐมนตรีจะพิจารณากำหนดวันหยุดราชการชดเชยให้ในภายหลังในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป
๒. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับการเลื่อนวันหยุดราชการดังกล่าวในข้อ ๑.และให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีด้วย
Chotika Punyanitya
No comments:
Post a Comment