Samart Payakaroon
Samart Payakaroon.jpg
Samart Payakaroon in 2006
Born Samart Tiptarmai
(สามารถ ทิพย์ท่าไม้)
5 December 1962 (age 55)
Chacherngsao, Thailand
Native name สามารถ พยัคฆ์อรุณ
Nickname(s) Phayak na yok
(พยัคฆ์หน้าหยก)
Phetchakhat na yok
(เพชฌฆาตหน้าหยก)
Nationality Thailand Thai
Style Muay Thai, Boxing
Fighting out of Bangkok, Thailand
Team Songchai Rattanasuban
Sahasompop Srisomwong
Suchart Kerdmek
Trainer Yodtong Senanan (Muaythai)
Sukjai Sappalek (Boxing)
Ismael Salas (Boxing)
Professional boxing record
Total 23
Wins 21
By knockout 12
Losses 2
By knockout 2
Draws 0
Kickboxing record
Total 150
Wins 130
By knockout 30
Losses 18
Draws 2
Other information
Notable relatives Kongtoranee Payakaroon (Elder brother)
Samart Payakaroon (Thai: สามารถ พยัคฆ์อรุณ; RTGS: Samat Phayak-arun), real name Samart Tiptarmai (Thai: สามารถ ทิพย์ท่าไม้; RTGS: Samat Thiptha-mai, born 5 December 1962, in Chachoengsao Province), is a former Muay Thai fighter and boxer. He is considered by many to be the greatest Muay Thai fighter of all time, becoming a multiple time Lumpinee stadium champion and a WBC world champion in boxing.
Thai Boxing career
Samart has an older brother, Kongtoranee Payakaroon, who induced Samart to start training in Muay Thai. Samart started training Muay Thai when he was 7 years old. The First Muay Thai teacher of Samart was Yodthong Senanan (Kru Tui) who taught both Samart and Kongtoranee. His first fight name was Samart Lookklongket. After he fought about a dozen fights, he came to Bangkok to fight at Lumpinee Stadium in 1978.
Samart was noted as being "not athletically gifted" as other Muay Thai fighters. He also had less stellar cardio due to his relative lung size. However, he possessed an extremely high fight IQ, lightning quick reflexes, and excellent ring vision. Samart also fought using creative techniques that were effective and unpredictable, even against elite competition in the 70s and 80s (dubbed the Golden Age of Muay Thai). There were contests where Samart was pushed past the brink of exhaustion, and still gave his opponents the fight of their lives. Even in the period where Samart was more concerned about his music and acting career, he defeated some of the greatest fighters of his generation.
Muay Thai honors
105 lb Champion of Lumpinee Stadium in 1980
108 lb Champion of Lumpinee Stadium in 1980
115 lb Champion of Lumpinee Stadium in 1981
126 lb Champion of Lumpinee Stadium in 1981
Awards
1981 Sports Writers of Thailand fighter of the year
1983 Sports Writers of Thailand fighter of the year
1988 Sports Writers of Thailand fighter of the year
Boxing
In 1982, he turned to boxing where he fought from a southpaw stance. In 1986, he won a WBC junior featherweight title with a surprise KO over rock-chinned Lupe Pintor in the fifth round and defended against the respected Juan Meza before being stopped by undefeated Australian Jeff Fenech. He made a comeback in the 1990s and challenged unsuccessfully for another world title.
Payakaroon was named The Ring's Progress of the Year fighter for 1986. He now teaches Muay Thai in Thailand.
Entertainment
Music
Between his two stints as boxing champion, Samart signed with a Grammy Entertainment winning label and released three albums. They are pop music but with his upcountry accent ('"Ner" เหน่อ) as opposed to central Thailand accent. His first album, Rock Ner Ner. (ร็อคเหน่อๆ) in 1989, contains a famous song On Som (อ่อนซ้อม - not enough practice) talking about him being very proficient in boxing but lacking the same aptitude at getting love from women. His second and third album, Arom Dee (อารมณ์ดี) and Kun Mai Kun Mike (คันไม้คันไมค์) followed in 1990 and 1992 with famous songs Nam Plik Pla Too (น้ำพริกปลาทู) and Kao Ao Eng (เกาเอาเอง) respectively. After the three albums, he went back to boxing.
Acting
In 2000, Samart starred as a minor antagonist named Chartchai Payakaroon in A Fighter's Blues. He had a role in the 2001 Thai film, The Legend of Suriyothai. He had a major role in the French drama film, Fureur, and was in the 2004 film, The Bodyguard. In 2006, he co-starred in the Thai martial arts film, Dynamite Warrior. He appeared in Muay Thai Chaiya in 2007.
In 2015, his biography has created a documentary film released in Mard Payak (มาดพยัคฆ์; "Tiger Style") by NOW26 in a network of Nation Multimedia Group.
Legacy
Samart is considered to be the "Muhammad Ali" and "Sugar Ray Robinson" of Muay Thai. His name holds prestige for followers of the sport to this day.
Coach and legendary fighter Kru Sidyodtong spoke highly of Samart, saying Samart was easily the most talented fighter he’s ever seen. Sidyodtong also believes Thailand still hasn’t seen anyone as talented as Samart grace the ring, and he says that during an era where Saenchai reigns supreme.
K-1 champion Buakaw Banchamek stated that Samart was the greatest Muay Thai fighter ever, without question.
Many modern day fighters, such as Saekson Janjira, Matee Jedeepitek, Kongnapa Kansaek Sor Ploenjit, Lookchang, and Nokweed all look up to Samart and aspire to be like him.
สามารถ พยัคฆ์อรุณ แชมป์โลกมวยสากลอาชีพคนที่ 10 ของไทย และอดีตยอดนักมวยไทยชื่อดัง
สามารถ มีชื่อจริงว่า สามารถ ทิพย์ท่าไม้ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่ตำบลคลองเขต (ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าข้าม) อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มหัดมวยไทยตั้งแต่อายุ 11 ขวบ โดยใช้ชื่อว่า "สามารถ ลูกคลองเขต"
โดยสามารถมีพี่ชายแท้ ๆ ซึ่งเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อดังด้วยคือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ก้องธรณีเคยชกมวยสากลเหมือนสามารถ ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยครั้งที่ 2 ได้ชิงแชมป์กับแชมป์โลกชาวไทยด้วยกันเองคือ เขาทราย แกแล็คซี่
มวยไทย
สามารถชกมวยไทยครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรีเมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ชนะคะแนนเพชรอรุณ ศิษย์นิมิต จากนั้นตระเวนชกในแถบจังหวัดภาคตะวันออกถึงร้อยกว่าครั้ง จึงได้เดินทางมาชกในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2522 ที่สนามมวยเวทีลุมพินี โดยอยู่ในการดูแลของโปรโมเตอร์ชื่อดัง ทรงชัย รัตนสุบรรณ
สามารถถือเป็นนักมวยชั้นเชิงแพรวพราว สายตาดี ชกได้สนุก ชนะใจคนดู และประสบความสำเร็จอย่างมากในการชกมวยไทย โดยได้แชมป์ของสนามมวยเวทีลุมพินีถึง 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ รุ่นพินเวท (105 ปอนด์) ชนะคะแนนก้องสมุทร ชูวัฒนะเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2523 รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท (108 ปอนด์) ชนะคะแนนพูนลาภ ศักดิ์นิรันดร์ เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (115 ปอนด์) ชนะคะแนน สิงห์ทอง ประสพชัย เมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2524 และรุ่นเฟเธอร์เวท (126 ปอนด์) ชนะคะแนน สมิงหนุ่ม สิทธิบุญธรรม เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2524
มวยสากลอาชีพ
สามารถ พยัคฆ์อรุณ เริ่มหันมาชกมวยสากลอาชีพโดยได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่าย เช่น ทรงชัย รัตนสุบรรณ ผู้จัดการและโปรโมเตอร์ สหสมภพ ศรีสมวงศ์ และสุชาติ เกิดเมฆ สามารถชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ชนะคะแนน เนตรน้อย ศ.วรสิงห์ จากนั้น ชกชนะน็อคอีก 9 ครั้ง โดยชนะนักมวยฝีมือดีหลายคนเช่น ช่อ ห้าพลัง ทองเบิ้ม ลูกมาตุลี จากนั้นจึงได้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท (122 ปอนด์) ของสภามวยโลก (WBC) กับมักมวยชาวเม็กซิกัน กัวดาลูเป้ พินเธอร์ ผลการชก สามารถชนะน็อกแชมป์โลกไปได้ในยกที่ 5 กลายเป็นแชมป์โลกคนที่ 10 ของไทย
หลังจากได้แชมป์โลกแล้ว สามารถไปชกนอกรอบที่ฝรั่งเศส เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ชนะคะแนน ราฟาเอล กันดาริลญา จากนั้นจึงชกป้องกันตำแหน่งอีกครั้ง ป้องกันตำแหน่งกับ ฮวน คิด เมซ่า นักมวยชาวเม็กซิกัน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์โลกรุ่นนี้ ผลปรากฏว่า สามารถก็เอาชนะน็อกไปในยกที่ 12 การชกกับฮวน คิด เมซ่า ได้รับการกล่าวขานถึงเป็นอย่างมาก เพราะสามารถพิงเชือกโยกหลบหมัดของผู้ท้าชิงด้วยสายตาอันว่องไวนับสิบ ๆ หมัด (ประมาณกันว่า 20 หมัด) และชกสวนหมัดตรงเข้าปลายคางไปเพียงหมัดเดียว ก็เอาชนะน็อกผู้ท้าชิงไปได้อย่างน่าประทับใจ โดยการชกครั้งนี้เป็นการชกร่วมรายการเดียวกับ สด จิตรลดา ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC กับกาเบรียล เบอร์นัล ด้วย
หลังจากได้แชมป์โลก สามารถกลายเป็นนักมวยเจ้าสำราญ ฟิตซ้อมไม่เต็มที่และเริ่มมีปัญหาน้ำหนักตัว ในที่สุดเมื่อสามารถเดินทางไปป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 เป็นการป้องกันตำแหน่งนอกบ้านถึงประเทศออสเตรเลีย กับนักมวยเจ้าถิ่น เจฟฟ์ เฟเนค (ซึ่งต่อมาเป็นนักมวยชื่อดังระดับโลก เป็นแชมป์โลก 3 รุ่น) การชกครั้งนี้สามารถประสบปัญหาน้ำหนักตัวซึ่งต้องลดอย่างมาก จึงถูก เฟเนค น็อกในยกที่ 4 อย่างหมดรูป กระนั้นยังมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า สามารถล้มมวยเพราะไม่เชื่อว่าฟอร์มการชกก่อนหน้านั้น 2 ครั้ง จะทำให้สามารถแพ้อย่างง่ายดายเช่นนี้ ซึ่งสามารถได้พิสูจน์ความจริงใจของตนเองด้วยพิธีสาบานที่วัดพระแก้วจนเป็นข่าวครึกโครมในช่วงนั้น และไปบวชอยู่ระยะหนึ่ง
หลังเสียแชมป์โลกแล้ว สามารถยังคงชกมวยสากลต่ออีก 2 ครั้งจึงกลับมาชกมวยไทย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยการชนะนักมวยชั้นนำในสมัยนั้นหลายคน เช่น เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง เป็นต้น จนใน พ.ศ. 2531 สามารถ พยัคฆ์อรุณ ได้รับรางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยม จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา โดยชกชนะรวดในปีนั้น ชนะทั้งพนมทวนเล็ก ศ.สิรินันท์ สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์ นำพล หนองกี่พาหุยุทธ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง แต่ต่อมาหลังชกแพ้วังจั่นน้อย ส.พลังชัยไปอย่างบอบช้ำ สามารถก็ประกาศเลิกชกมวยไทยไป
สามารถ พยัคฆ์อรุณ กลับมาชกมวยสากลอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 โดยมี ทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นผู้สนับสนุนอีกเช่นเคย สามารถชกอุ่นเครื่องชนะรวด 5 ครั้ง จึงได้ชิงแชมป์โลกในรุ่นเฟเธอร์เวท WBA กับ อีลอย โรฮาส นักมวยชาวเวเนซูเอล่า ในปี พ.ศ. 2537 ที่จังหวัดตรัง ผลการชกคือ สามารถแพ้น็อกไปอย่างสิ้นสภาพในยกที่ 8 ปิดฉากชีวิตในแบบนักมวยทันที
No comments:
Post a Comment